วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

การเรียนการสอนครั้งที่ 19

สรุปงานวิจัย


เรื่องการศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยจาก
การจัดประสบการณ์แบบโครงงาน
นางสมบุญ  พุทธบุตร
กาญจนา  ท่อแก้


การศึกษานอกสถานที่ไว้ว่า เด็กสร้างความรู้ขึ้นมาด้วยตนเอง  และจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งในและนอกห้องเรียนตลอดเวลา  สำรวจธรรมชาติและปรากฏการณ์ต่าง ๆ รอบ ๆ  ตัว  ได้รับประสบการณ์ตรง ได้รับความรู้ แนวคิด ค่านิยมของบุคคลต่าง ๆ ในสังคม มีความรับผิดชอบต่อกลุ่ม ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี อยากรู้อยากเห็น สนุกสนาน และสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน  ระยะที่ 2  ระยะพัฒนาโครงงาน  เป็นระยะที่เด็กแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของแต่ละคน  เด็กร่วมกันวางแผนกำหนดแนวทางที่ศึกษา  เป็นระยะที่เด็กร่วมกันกำหนดกรอบแนวทางในการเรียนรู้  โดยครูเป็นผู้ชี้แนะในประเด็นต่าง ๆ  ได้แก่ การกำหนดเรื่องหรือปัญหาที่สนใจศึกษาให้ชัดเจน  กำหนดวัตถุประสงค์และตั้งสมมติฐาน  กำหนดขั้นตอนวิธีการค้นคว้า  กำหนดวิธีการเก็บรวบรวมและบันทึกข้อมูล  ศึกษาตามวิธีการที่กำหนด

เด็กจะเรียนรู้ได้ดีและมีความมั่นใจ  ถ้าประสบการณ์ที่เด็กจะเรียนรู้นั้นเป็นประสบการณ์ที่อยู่ใกล้ตัวเด็กและมาจากความต้องการของเด็กเอง  เพราะธรรมชาติของเด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นมากที่สุดกับเหตุการณ์หรือสิ่งแปลกใหม่  เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างลุ่มลึก  แก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล  ในระยะนี้เป็นระยะที่ครูกระตุ้นและติดตามให้คำชี้แนะอย่างใกล้ชิดเพื่อให้เด็กได้ใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้อย่างต่อเนื่องด้วยการลงมือปฏิบัติและร่วมกันวิเคราะห์ 

จากผลการพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย โดยการจัดประสบการณ์แบบโครงงานก่อนและหลังการจัดประสบการณ์พบว่า การพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย หลังการจัดประสบการณ์แบบโครงงานสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  พฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงงาน  มีพฤติกรรมทางสังคมอยู่ทุกขั้นตอนของการจัดประสบการณ์ดังนี้  ระยะที่ 1  ระยะเริ่มต้นโครงงาน  เป็นระยะที่เด็ก ๆ ที่เด็กแต่ละคนค้นหาความสนใจของตนเอง  แสดงความคิดเห็นในเรื่องที่สนใจจากประสบการณ์ของแต่ละบุคคล โดยครูเป็นผู้กระตุ้นความสนใจในหัวเรื่องที่จะเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม  ระยะที่ 2  ระยะพัฒนาโครงงาน เป็นระยะที่เด็กแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของแต่ละคนด้วยการวาดภาพเป็นกลุ่ม  แล้วนำเสนอทีละกลุ่ม  จากนั้นเด็กร่วมกันกำหนดปัญหาและร่วมกันตั้งคำถามเกี่ยวกับหัวข้อออกมาในรูปแบบของแผนผังความคิด (WEB) เพื่อนำไปสู่การค้นคว้าหาคำตอบด้วยการตั้งสมมติฐาน  การคาดคะเนสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ถูกต้องและวางแผนร่วมกันในการค้นหาคำตอบที่สามารถหาได้จากวัสดุ อุปกรณ์ และแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ร่วมกันเป็นกลุ่ม  ด้วยกระบวนการที่หลากหลายเป็นการศึกษาค้นคว้า สำรวจ สังเกต ทดลอง และปฏิบัติจริง เน้นการทำงานเป็นกลุ่มและการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม  ระยะที่ 3   ระยะสรุปโครงงาน  เป็นระยะที่ เด็กได้สรุปความรู้และและประสบการณ์ที่ได้รับจากการทำโครงงานข้าวแตน ในระยะนี้เด็กได้เล่าเรื่องเกี่ยวกับผลงานและการทำกิจกรรมร่วมกันกับเพื่อนในกลุ่ม  มีการทบทวนขั้นตอนตั้งแต่ก่อนการทำกิจกรรม ขณะทำกิจกรรมและผลของการดำเนินกิจกรรม  ในระยะนี้มีการจัดแสดงนิทรรศการผลงานนำเสนอให้ผู้ปกครอง  ครู  ผู้บริหาร และเพื่อนชั้นอื่น ๆ ได้เห็นกระบวนการศึกษาค้นคว้าหาคำตอบของการจัดประสบการแบบโครงงาน  ซึ่งทำให้เกิดพฤติกรรมทางสังคมทั้ง 3  ด้าน คือการช่วยเหลือ  การยอมรับ  และการให้ความร่วมมือ กล่าวว่า เด็กมีความสามารถในการมีส่วนร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ และชอบทำสิ่งต่าง ๆด้วยตนเอง ตลอดจนสามารถให้ความร่วมมือและรู้จักวางแผนร่วมกับผู้อื่นในการริเริ่มกิจกรรมต่าง ๆ ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น