วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากบทความ

สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากบทความ 

การทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Science experiment) 
การทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Science experiment) เป็นกิจกรรมที่ตอบสนองต่อธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ทั้งนี้เนื่องจากเด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากการเล่น การปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม และจากการได้ใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ เช่น การฟัง การเห็น การชิมรส การดมกลิ่น การสัมผัสจับต้องสิ่งต่างๆ กิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เป็นการจัดกิจกรรมที่สามารถส่งเสริมและพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้ กับเด็กปฐมวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นความสามารถทางด้านสติปัญญาที่สามารถ ฝึกฝนให้กับเด็กปฐมวัยได้ด้วยการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้โอกาสปฏิสัมพันธ์ กับสิ่งแวดล้อม

การทดลองทางวิทยาศาสตร์ช่วยสร้างลักษณะนิสัยการเรียนรู้อย่างมีกระบวนการ ส่งเสริมให้เด็กคิดอย่างมีระบบ และศึกษาสิ่งต่างๆด้วยการนำเอาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้เป็นสิ่ง กระตุ้นพัฒนาการเรียนรู้ และส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านของเด็กรวมถึงสามารถพัฒนาเด็กปฐมวัยในด้านต่างๆ ดังนี้
  • ส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาความสามารถในการค้นคว้า สืบสอบสิ่งต่างๆ
  • ส่งเสริมให้เด็กได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อย่าง แท้จริง เช่น ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการสื่อสาร ทักษะการลงความเห็น ทักษะการวัด ทักษะการสื่อสาร เป็นต้น
  • ช่วยตอบสนองต่อธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย โดยเฉพาะความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก เจตคติต่อวิทยา ศาสตร์ และการเรียนรู้ด้วยการค้นพบ
  • ช่วยให้เด็กเข้าใจวิธีการทำงานอย่างนักวิทยาศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน และการสืบค้นของตัวเด็ก
ครูมีบทบาทสำคัญในการสร้างเสริมประสบการณ์ให้กับเด็กโดยเฉพาะการจัดกิจกรรม การทดลองทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทาง วิทยาศาสตร์ บทบาทสำคัญของครูปฐมวัยคือ การจัดกิจกรรมทดลองทางวิทยาศาสตร์ให้เด็กอย่างน้อย 1 การทดลอง ต่อ 1 หน่วยการเรียนรู้ และจัดหาสื่อวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาใช้เพื่อการทดลองให้พร้อม อีกทั้งยังต้องจัดมุมประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กคิดและทดลองตามหัวเรื่อง ที่เรียน นอกจากนี้ การใช้คำถามของครูเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยให้เด็กได้พัฒนาทักษะพื้นฐาน ทางวิทยาศาสตร์ได้เช่นเดียวกัน


วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การเรียนการสอนครั้งที่ 20

สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการดูวีดีโอโทรทัศน์ครู


เรื่อง  เรียนรู้นอกห้องเรียน กับโรงเรียนในป่า - Outdoor Learning with Forest School   

เด็กปฐมวัยในวัยนี้นอกจากเราจะสนับสนุนเด็กในเรื่องของพัฒนาการการเรียนรู้ทางด้านต่าง ๆ แล้วควรสนับสนุนนักเรียนให้มีความรักธรรมชาติ สร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต และมีความกล้าแสดงออกโดยการให้เด็กๆไปทำกิจกรรมในป่าทุก 2 สัปดาห์ จะทำให้เด็กเกิด ความคิดริเริ่มในเรื่องของธรรมชาติเกิดการกล้าแสดงออกเปิดประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับเด็ก ซึ่งเป็นที่น่าสนับสนุนอย่างมากเพราะธรรมชาติกับเด็กเป็นของคู่กันเด็กสามารถเรียนรู้ผ่านธรรมชาติได้ดี ได้เรียนรู้สังเกตุศักยภาพด้านต่าง ๆ ของเด็ก ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ควรคำนึงถึงความปลอดภัยระหว่างทำกิจกกรมนอกห้องเรียนด้วย

วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

การเรียนการสอนครั้งที่ 19

สรุปงานวิจัย


เรื่องการศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยจาก
การจัดประสบการณ์แบบโครงงาน
นางสมบุญ  พุทธบุตร
กาญจนา  ท่อแก้


การศึกษานอกสถานที่ไว้ว่า เด็กสร้างความรู้ขึ้นมาด้วยตนเอง  และจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งในและนอกห้องเรียนตลอดเวลา  สำรวจธรรมชาติและปรากฏการณ์ต่าง ๆ รอบ ๆ  ตัว  ได้รับประสบการณ์ตรง ได้รับความรู้ แนวคิด ค่านิยมของบุคคลต่าง ๆ ในสังคม มีความรับผิดชอบต่อกลุ่ม ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี อยากรู้อยากเห็น สนุกสนาน และสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน  ระยะที่ 2  ระยะพัฒนาโครงงาน  เป็นระยะที่เด็กแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของแต่ละคน  เด็กร่วมกันวางแผนกำหนดแนวทางที่ศึกษา  เป็นระยะที่เด็กร่วมกันกำหนดกรอบแนวทางในการเรียนรู้  โดยครูเป็นผู้ชี้แนะในประเด็นต่าง ๆ  ได้แก่ การกำหนดเรื่องหรือปัญหาที่สนใจศึกษาให้ชัดเจน  กำหนดวัตถุประสงค์และตั้งสมมติฐาน  กำหนดขั้นตอนวิธีการค้นคว้า  กำหนดวิธีการเก็บรวบรวมและบันทึกข้อมูล  ศึกษาตามวิธีการที่กำหนด

เด็กจะเรียนรู้ได้ดีและมีความมั่นใจ  ถ้าประสบการณ์ที่เด็กจะเรียนรู้นั้นเป็นประสบการณ์ที่อยู่ใกล้ตัวเด็กและมาจากความต้องการของเด็กเอง  เพราะธรรมชาติของเด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นมากที่สุดกับเหตุการณ์หรือสิ่งแปลกใหม่  เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างลุ่มลึก  แก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล  ในระยะนี้เป็นระยะที่ครูกระตุ้นและติดตามให้คำชี้แนะอย่างใกล้ชิดเพื่อให้เด็กได้ใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้อย่างต่อเนื่องด้วยการลงมือปฏิบัติและร่วมกันวิเคราะห์ 

จากผลการพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย โดยการจัดประสบการณ์แบบโครงงานก่อนและหลังการจัดประสบการณ์พบว่า การพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย หลังการจัดประสบการณ์แบบโครงงานสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  พฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงงาน  มีพฤติกรรมทางสังคมอยู่ทุกขั้นตอนของการจัดประสบการณ์ดังนี้  ระยะที่ 1  ระยะเริ่มต้นโครงงาน  เป็นระยะที่เด็ก ๆ ที่เด็กแต่ละคนค้นหาความสนใจของตนเอง  แสดงความคิดเห็นในเรื่องที่สนใจจากประสบการณ์ของแต่ละบุคคล โดยครูเป็นผู้กระตุ้นความสนใจในหัวเรื่องที่จะเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม  ระยะที่ 2  ระยะพัฒนาโครงงาน เป็นระยะที่เด็กแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของแต่ละคนด้วยการวาดภาพเป็นกลุ่ม  แล้วนำเสนอทีละกลุ่ม  จากนั้นเด็กร่วมกันกำหนดปัญหาและร่วมกันตั้งคำถามเกี่ยวกับหัวข้อออกมาในรูปแบบของแผนผังความคิด (WEB) เพื่อนำไปสู่การค้นคว้าหาคำตอบด้วยการตั้งสมมติฐาน  การคาดคะเนสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ถูกต้องและวางแผนร่วมกันในการค้นหาคำตอบที่สามารถหาได้จากวัสดุ อุปกรณ์ และแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ร่วมกันเป็นกลุ่ม  ด้วยกระบวนการที่หลากหลายเป็นการศึกษาค้นคว้า สำรวจ สังเกต ทดลอง และปฏิบัติจริง เน้นการทำงานเป็นกลุ่มและการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม  ระยะที่ 3   ระยะสรุปโครงงาน  เป็นระยะที่ เด็กได้สรุปความรู้และและประสบการณ์ที่ได้รับจากการทำโครงงานข้าวแตน ในระยะนี้เด็กได้เล่าเรื่องเกี่ยวกับผลงานและการทำกิจกรรมร่วมกันกับเพื่อนในกลุ่ม  มีการทบทวนขั้นตอนตั้งแต่ก่อนการทำกิจกรรม ขณะทำกิจกรรมและผลของการดำเนินกิจกรรม  ในระยะนี้มีการจัดแสดงนิทรรศการผลงานนำเสนอให้ผู้ปกครอง  ครู  ผู้บริหาร และเพื่อนชั้นอื่น ๆ ได้เห็นกระบวนการศึกษาค้นคว้าหาคำตอบของการจัดประสบการแบบโครงงาน  ซึ่งทำให้เกิดพฤติกรรมทางสังคมทั้ง 3  ด้าน คือการช่วยเหลือ  การยอมรับ  และการให้ความร่วมมือ กล่าวว่า เด็กมีความสามารถในการมีส่วนร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ และชอบทำสิ่งต่าง ๆด้วยตนเอง ตลอดจนสามารถให้ความร่วมมือและรู้จักวางแผนร่วมกับผู้อื่นในการริเริ่มกิจกรรมต่าง ๆ ได้

วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556

การเรียนการสอนครั้งที่ 18

เรียนชดเชย

การเรียนการสอน
- ในวันนี้อาจารย์ได้ให้เตรียมอุปกรณ์ในการนำเสนอการทดลองมาทุกคน และนำเสนอเสมือนการสอนเด็กหน้าชั้นเรียน
โดยสิ่งที่หนูนำไปเสนอหน้าชั้นเรียน คือ เรื่องของแรงตึงผิว (น้ำไม่ล้น)
- นำเสนอการทดลอง 
     - ส่งชิ้นงานทุกชิ้น  ได้แก่
       1.  สื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์ ( ทุ่งหญ้าในขวด)
       2.  ของเล่นวิทยาศาสตร์  ( กลองแขกใบจิ๋ว )





องค์ความรู้ทีได้รับในวันนี้

- ได้รู้เรื่องแรงตึงผิวที่สามารถนำไปปฎิบัติในอนาคตได้
- เรียนรู้วิธีพูดของครูที่ถูกต้อง ควรใช้คำถามปลายเปิด
- การทดลองควรเข้าใจในเรื่องที่ทำอย่างแท้จริง 
- เรียนรู้การรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น

    



วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

การเรียนการสอนครั้งที่ 17

การเรียนการสอน
ในวันนี้อาจารย์นัดเรียนชดเชย นำเสนอการทดลองที่เคยทำและได้เรียนกันไว้ และส่งของอีกสองชิ้น รวงมถึงพูดถึงการทำแฟ้มไปศึกษาดูงานให้เสร็จเรียบร้อย รวมถึงมีอาจารย์คนใหม่มาช่วยสอยและได้ทำ my maping กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  คือ  วิธีการและขั้นตอนที่ใช้ดำเนินการค้นคว้าหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 
          1) วิธีการทางวิทยาศาสตร์    
          2) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 
          3) จิตวิทยาศาสตร์
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (scientific method)
          วิธีการทางวิทยาศาสตร์  เป็นขั้นตอนการทำงานอย่างเป็นระบบที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการแสวงหาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์  ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
  
               1. ขั้นสังเกตเพื่อระบุปัญหา  คือการระบุปัญหา  หรือสิ่งที่ต้องการศึกษา  และกำหนด      ขอบเขตของปัญหา 
  
               2. ขั้นตั้งสมมติฐาน  คือการคิดคำตอบที่คาดหวังว่าควรจะเป็น  หรือการคาดเดาคำตอบ  ที่จะได้รับ
  
               3. ขั้นการรวบรวมข้อมูล  คือการรวบรวมข้อมูล  การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจสอบ  สมมติฐานที่ตั้งไว้ว่าถูกหรือผิด โดยมีหลักฐานยืนยัน อาจทำได้โดยการสังเกต หรือการทดลอง
  
               4. ขั้นสรุปผล  คือการสรุปว่าจะปฏิเสธ หรือยอมรับสมมติฐาน ตามหลักเหตุและผล     เพื่อให้ได้คำตอบของปัญหา

ทักษะและความรู้ที่ได้รับในวันนี้
             
                   - การสรุปความรู้ในรูปแบบ Mild map หรือการสรุปอย่างง่าย
                   - การทำงานอย่างเป็นระบบเพื่องานที่ดีและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

การนำไปประยุกต์ใช้

                    - การสอนสรุปเนื้อหาด้วย concept   Mild mapping

วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

การเรียนการสอนครั้งที่ 16

การเรียนการสอน
 ในวันนี้พวกเราได้ทำการเขียนแผน " การทำอาการของเด็กปฐมวัย " ซึ่งทุกกลุ่มจับกลุ่มกัน 6-8 คน ร่วมกันช่วยคิดแผนและเมนูอาหารว่าจะทำอะไรกันบ้าง และเมื่อเขียนเสร็จ อาจารย์ให้ออกไปนำเสนอ และให้คัดเลือกแผนที่น่าสนใจและเหมาะสมสามารถทำได้ง่ายสะดวก และพอเหมาะกับเวลา พวกเราจึงเลือไข่ตุ๋นกัน เรามาเริ่มทำกิจกรรม cooking กันเลย !!











ขั้นตอนและวิธีการสอนเด็ก 


  1.  ครูจัดเด็กนั่งเป็นครึ่งวงกลม  แล้วนำอุปกรณ์ที่จะทำกิจกรรม cooking ในวันนี้วางไว้ข้างหน้า
  
2.  ครูเสริมแรงเด็กโดยการใช้คำถาม  เช่น
      
  -  "เด็กเห็นไหมคะว่าวันนี้มีอะไรอยู่บนโต๊ะคุณครู"
       
-  "เด็กๆคิดว่าวันนี้คุณครูจะทำกิจกรรมอะไร จากอุปกรณ์ที่เด็กๆเห็นอยู่ค่ะ"
       
-  " เด็กเคยทานไข่ตุ๋นไหมค่ะ  ไข่ตุ๋นเป็นยังไง "

3.  ครูเริ่มแนะนำอุปกรณ์และวัตถุดิบที่เตรียมมาให้เด็กๆได้ทราบ

4.  ครูให้เด็กอาสาสมัครออกมาหั่นผัก  ได้แก่  ผักชี  ต้นหอม และแครอท

5.  เด็กๆลงมือในการทำไข่ตุ๋น  โดยการตีไข่ให้เข้ากัน  ใส่แครอท  ผักชี  ต้นหอมและปูอัดลงในถ้วย
 และใส่ซีอิ้วขาวเพิ่มความอร่อย

6.   นำถ้วยไข่ตุ๋นใส่ในหม้อนึ่ง รอประมาณ 15-20 นาที   ระหว่างการรอไข่ตุ๋นสุกนั้นครูและเด็กๆร่วมกันสนทนาถึง
การทำไข่ตุ๋นครั้งนี้

7.ไข่ตุ๋นฝีมือเด็กๆเสร็จแล้ว  น่าทานจริงๆเลยค่ะ
และนี่เป็นหน้าตาของไข่ตุ๋นที่พวกเราร่วมกันทำและได้ชิมรสชาติเป็นอันใช้ได้เลยทีเดียวค่ะ !



ทักษะที่ได้รับในวันนี้
      
     1.   ทักษะการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการประกอบอาหาร
     2.   ทักษะการใช้ภาษา
     3.   ทักษะความสามารถด้านการกล้าแสดงออก
การนำไปประยุกต์ใช้

    1.   การจัดกิจกรรม cooking ให้กับเด็กปฐมวัยในอนาคตที่มีความถูกต้องและปลอดภัย
    2.   การบูรณาการวิทยาศาสตร์ให้เข้ากับกิจกรรมประจำวัน ซึ่งเด็ก ๆ สามารถนำกลับไปทำที่บ้านหรือมีความรู้ที่สามารถช่วยผู้ปกครองทำอาหารได้